HOME.TITLE
Product
กลุ่มอุปกรณ์ส่งกำลัง (Power Transmission)
กลุ่มอุปกรณ์ส่งกำลัง (Power Transmission) P2
กลุ่มอุปกรณ์ส่งกำลัง (Power Transmission) P2
กลุ่มอุปกรณ์ส่งกำลัง Power Transmission
มอเตอร์ไฟฟ้า | Electric Induction Motor
หลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า
หลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า คือ การนำพลังงานไฟฟ้ามาเปลี่ยนเป็นพลังงานกล โดยการสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นที่ขดลวดทองแดง
ในสเตเตอร์ เพื่อเหนี่ยวนำทุ่น( ROTOR )ให้เกิดการหมุน แล้วจึงนำพลังงานที่เกิดจากการหมุนนั้นไปใช้งานต่าง ๆ โครงสร้าง( FRAME )ของมอเตอร์ไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. แบบเหล็กหล่อ เป็นแบบที่ลูกค้านิยมใช้ เพราะแข็งแรง ทนทาน ระบายความร้อนได้ดี
2. แบบอลูมิเนียม เป็นแบบที่ลูกค้านิยมใช้ในบางกลุ่ม สามารถใช้แทนเหล็กน้ำหนักเบากว่า สวยงาม ระบายความร้อนได้ดี ราคาสูงกว่าเหล็กหล่อแต่ความทนทานจะไม่เท่าเหล็กหล่อเพราะทนสารเคมีบางประเภทไม่ได้
3. แบบเหล็กม้วน เป็นแบบที่ลูกค้าไม่นิยมใช้มากนัก เพราะมอเตอร์จะมีเรื่องการระบายความร้อนไม่ดีนัก ตัวเสื้อไม่สวยงาม แต่มีความกะทัดรัด และราคาถูก
มอเตอร์ไฟฟ้าจะมีรอบหมุนตั้งแต่ 3000 รอบ ( 2P ) 1500 รอบ ( 4P ) 1000 รอบ ( 6P )
การนำไปใช้งาน
การนำมอเตอร์ไฟฟ้าไปใช้งานนั้นมีหลายประเภท แต่ส่วนมากจะนำไปใช้ในการขับเคลื่อนชิ้นงานต่าง ๆ ให้เคลื่อนไหว เช่น นำไปขับเฟืองเพื่อให้ลูกกลิ้งหมุน ทั้งนี้ยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่สามารถใช้ร่วมกับมอเตอร์อีกมากมาย เช่น INVERTER เพื่อควบคุมและปรับเปลี่ยนความเร็วของมอเตอร์, เกียร์ทดรอบ เพื่อลดความเร็วการหมุนของมอเตอร์ และเพิ่มแรงบิดให้ตรงตามความต้องการของชิ้นงาน เป็นต้น
ลักษณะการประกอบใช้งาน
การประกอบใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของมอเตอร์ โดยมากจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. ขาตั้ง ประกอบเข้ากับชิ้นงานโดยผ่านยอย หรือเฟือง
2. หน้าแปลนประกอบโดยสวมเข้ากับชิ้นงานโดยตรง
3. ขาตั้งและหน้าแปลน สวมเข้ากับชิ้นงานโดยมีฐานรองรับน้ำหนักของมอเตอร์
มาตรฐานต่างๆของมอเตอร์ไฟฟ้า ในการเลือกใช้งาน มีดังนี้
ควรดูว่ามอเตอร์ไฟฟ้านั้นๆได้รับมาตรฐานสากลหรือไม่ เช่น IEC (International Electrotechnical Commission) หรือ NEMA(National Electrical Manufactures Association) ในการเลือกใช้งานจะมีการดูค่า IP (INGRESS PROTECTION) และ Insulating type เพื่อการใช้งานที่ตรงความต้องการ
IP (INGRESS PROTECTION) จะแสดงด้วยตัวเลข 2 หลักคือ รูปแบบการแสดงมาตรฐานจะเป็น IPXX ซึ่ง XX เช่น IP65 IP67 IP68 เป็นต้น ตัวเลขหลักที่ 1 หมายถึงการป้องกันจากของแข็ง ซึ่งจะมีตั้งแต่ 0-6 เเละตัวเลขหลักที่ 2 หมายถึงการป้องกันจากของเหลว ซึ่งจะมีตั้งแต่ 0-8Insulation Class type คือ ชนิดของขดลวดอาบน้ำยา (ฉนวน) เนื่องจากอายุการใช้งานของมอเตอร์จะยาวนาน หรือสั้นลง ส่วนสำคัญ ส่วนหนึ่ง คืออายุการใช้งานของฉนวนที่ขดลวด ดังนั้นเราควรเลือกชนิดที่ตรงกับการใช้งานจริง เพื่อป้องกันความเสียหายเช่นมอเตอร์ไหม้ และสามารถมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยInsulation Class จะมี 5 ระดับ
แบรนด์ที่มีจำหน่าย
หลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า
หลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า คือ การนำพลังงานไฟฟ้ามาเปลี่ยนเป็นพลังงานกล โดยการสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นที่ขดลวดทองแดง
ในสเตเตอร์ เพื่อเหนี่ยวนำทุ่น( ROTOR )ให้เกิดการหมุน แล้วจึงนำพลังงานที่เกิดจากการหมุนนั้นไปใช้งานต่าง ๆ โครงสร้าง( FRAME )ของมอเตอร์ไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. แบบเหล็กหล่อ เป็นแบบที่ลูกค้านิยมใช้ เพราะแข็งแรง ทนทาน ระบายความร้อนได้ดี
2. แบบอลูมิเนียม เป็นแบบที่ลูกค้านิยมใช้ในบางกลุ่ม สามารถใช้แทนเหล็กน้ำหนักเบากว่า สวยงาม ระบายความร้อนได้ดี ราคาสูงกว่าเหล็กหล่อแต่ความทนทานจะไม่เท่าเหล็กหล่อเพราะทนสารเคมีบางประเภทไม่ได้
3. แบบเหล็กม้วน เป็นแบบที่ลูกค้าไม่นิยมใช้มากนัก เพราะมอเตอร์จะมีเรื่องการระบายความร้อนไม่ดีนัก ตัวเสื้อไม่สวยงาม แต่มีความกะทัดรัด และราคาถูก
มอเตอร์ไฟฟ้าจะมีรอบหมุนตั้งแต่ 3000 รอบ ( 2P ) 1500 รอบ ( 4P ) 1000 รอบ ( 6P )
การนำไปใช้งาน
การนำมอเตอร์ไฟฟ้าไปใช้งานนั้นมีหลายประเภท แต่ส่วนมากจะนำไปใช้ในการขับเคลื่อนชิ้นงานต่าง ๆ ให้เคลื่อนไหว เช่น นำไปขับเฟืองเพื่อให้ลูกกลิ้งหมุน ทั้งนี้ยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่สามารถใช้ร่วมกับมอเตอร์อีกมากมาย เช่น INVERTER เพื่อควบคุมและปรับเปลี่ยนความเร็วของมอเตอร์, เกียร์ทดรอบ เพื่อลดความเร็วการหมุนของมอเตอร์ และเพิ่มแรงบิดให้ตรงตามความต้องการของชิ้นงาน เป็นต้น
ลักษณะการประกอบใช้งาน
การประกอบใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของมอเตอร์ โดยมากจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
1. ขาตั้ง ประกอบเข้ากับชิ้นงานโดยผ่านยอย หรือเฟือง
2. หน้าแปลนประกอบโดยสวมเข้ากับชิ้นงานโดยตรง
3. ขาตั้งและหน้าแปลน สวมเข้ากับชิ้นงานโดยมีฐานรองรับน้ำหนักของมอเตอร์
มาตรฐานต่างๆของมอเตอร์ไฟฟ้า ในการเลือกใช้งาน มีดังนี้
ควรดูว่ามอเตอร์ไฟฟ้านั้นๆได้รับมาตรฐานสากลหรือไม่ เช่น IEC (International Electrotechnical Commission) หรือ NEMA(National Electrical Manufactures Association) ในการเลือกใช้งานจะมีการดูค่า IP (INGRESS PROTECTION) และ Insulating type เพื่อการใช้งานที่ตรงความต้องการ
IP (INGRESS PROTECTION) จะแสดงด้วยตัวเลข 2 หลักคือ รูปแบบการแสดงมาตรฐานจะเป็น IPXX ซึ่ง XX เช่น IP65 IP67 IP68 เป็นต้น ตัวเลขหลักที่ 1 หมายถึงการป้องกันจากของแข็ง ซึ่งจะมีตั้งแต่ 0-6 เเละตัวเลขหลักที่ 2 หมายถึงการป้องกันจากของเหลว ซึ่งจะมีตั้งแต่ 0-8Insulation Class type คือ ชนิดของขดลวดอาบน้ำยา (ฉนวน) เนื่องจากอายุการใช้งานของมอเตอร์จะยาวนาน หรือสั้นลง ส่วนสำคัญ ส่วนหนึ่ง คืออายุการใช้งานของฉนวนที่ขดลวด ดังนั้นเราควรเลือกชนิดที่ตรงกับการใช้งานจริง เพื่อป้องกันความเสียหายเช่นมอเตอร์ไหม้ และสามารถมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยInsulation Class จะมี 5 ระดับ
แบรนด์ที่มีจำหน่าย
มอเตอร์เบรค | Brake Motor
รายละเอียดของสินค้า
มอเตอร์เบรค เป็นมอเตอร์ที่มีการประกอบชุดเบรคในตัว เหมาะสำหรับงานที่ต้องการให้ชิ้นงานหรือเครื่องจักรหยุดการทำงานทันที โดยไม่มีการสลิป (คลาดเคลื่อน) แต่ไม่เหมาะกับงานที่ต้องหยุดบ่อย ๆ เนื่องจากจะมีผลต่อการทำงานของมอเตอร์ในการกินกระแสขณะ START มากเกินไป ดังนั้น งานที่ต้องการหยุดบ่อยๆ จะแนะนำให้ลูกค้าใช้คลัชจะเหมาะสมกว่า
ลักษณะของมอเตอร์เบรค มี 2 แบบ คือ
1. แบบขาตั้ง (FOOT MOUNTED)
2. แบบหน้าแปลน (FLANGE MOUNTED)
โดยมีรอบตั้งแต่ 3000 รอบ (2P) 1500 รอบ (4P) 1000 รอบ (6P)
ส่วนประกอบของมอเตอร์เบรก
1. มอเตอร์ไฟฟ้า AC 220 / 380V. 380 / 660V. 3PHASE
2. ชุดเบรค ประกอบด้วย คอยส์เบรค , ผ้าเบรค , และตัวเบรค
ลักษณะการทำงานและการติดตั้งมอเตอร์เบรค
การทำงานจะทำงานเมื่อหยุดจ่ายกระแสไฟ เบรคจะจับเพื่อทำการหยุด ROTOR (เพลา) ให้หยุดนิ่งเพื่อให้ชิ้นงานหยุดการทำงาน และเมื่อจ่ายกระแสไฟเข้ามอเตอร์เบรคจะปล่อยเพลา เพื่อให้มอเตอร์ทำงานได้ตามปกติ การติดตั้งชุดเบรค จะติดตั้งบริเวณปลายเพลาท้ายมอเตอร์ โดยใช้ไฟจาก TERMINAL BOX ของมอเตอร์ทางด้านขาเข้า โดยระยะการเบรคขึ้นอยู่กับการตั้งสปริงให้อยู่ในระยะที่เหมาะสมด้วย
ระบบไฟของชุดเบรก แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. ระบบไฟ 90 V. /DC.
2. ระบบไฟ 24 V./ DC.
3. ระบบไฟ 190 V./ DC.
4. ระบบไฟ 380 V./ AC 3 PHASE
แบรนด์ที่มีจำหน่าย
รายละเอียดของสินค้า
มอเตอร์เบรค เป็นมอเตอร์ที่มีการประกอบชุดเบรคในตัว เหมาะสำหรับงานที่ต้องการให้ชิ้นงานหรือเครื่องจักรหยุดการทำงานทันที โดยไม่มีการสลิป (คลาดเคลื่อน) แต่ไม่เหมาะกับงานที่ต้องหยุดบ่อย ๆ เนื่องจากจะมีผลต่อการทำงานของมอเตอร์ในการกินกระแสขณะ START มากเกินไป ดังนั้น งานที่ต้องการหยุดบ่อยๆ จะแนะนำให้ลูกค้าใช้คลัชจะเหมาะสมกว่า
ลักษณะของมอเตอร์เบรค มี 2 แบบ คือ
1. แบบขาตั้ง (FOOT MOUNTED)
2. แบบหน้าแปลน (FLANGE MOUNTED)
โดยมีรอบตั้งแต่ 3000 รอบ (2P) 1500 รอบ (4P) 1000 รอบ (6P)
ส่วนประกอบของมอเตอร์เบรก
1. มอเตอร์ไฟฟ้า AC 220 / 380V. 380 / 660V. 3PHASE
2. ชุดเบรค ประกอบด้วย คอยส์เบรค , ผ้าเบรค , และตัวเบรค
ลักษณะการทำงานและการติดตั้งมอเตอร์เบรค
การทำงานจะทำงานเมื่อหยุดจ่ายกระแสไฟ เบรคจะจับเพื่อทำการหยุด ROTOR (เพลา) ให้หยุดนิ่งเพื่อให้ชิ้นงานหยุดการทำงาน และเมื่อจ่ายกระแสไฟเข้ามอเตอร์เบรคจะปล่อยเพลา เพื่อให้มอเตอร์ทำงานได้ตามปกติ การติดตั้งชุดเบรค จะติดตั้งบริเวณปลายเพลาท้ายมอเตอร์ โดยใช้ไฟจาก TERMINAL BOX ของมอเตอร์ทางด้านขาเข้า โดยระยะการเบรคขึ้นอยู่กับการตั้งสปริงให้อยู่ในระยะที่เหมาะสมด้วย
ระบบไฟของชุดเบรก แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. ระบบไฟ 90 V. /DC.
2. ระบบไฟ 24 V./ DC.
3. ระบบไฟ 190 V./ DC.
4. ระบบไฟ 380 V./ AC 3 PHASE
แบรนด์ที่มีจำหน่าย
มอเตอร์เกียร์ขนาดเล็ก | Compact Gear Motor
หลักการทำงานของมอเตอร์
มอเตอร์เป็นมอเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำหรือเรียกว่า Induction Motor เป็นการนำพลังงานไฟฟ้ามาเปลี่ยนเป็นพลังงานกล โดยอาศัยการสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นภายในขดลวด Stator เพื่อผลักดันให้ตัว Rotor เคลื่อนที่
รูปแบบของมอเตอร์
จะเป็นลักษณะหน้าแปลนสี่เหลี่ยมจตุรัส ทั้งนี้การดีไซน์ของตัวมอเตอร์สามารถนำไปใช้งานได้โดยตรงกับชิ้นงาน หรือประกอบเข้ากับหัวเกียร์ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานเป็นหลัก แต่รูปแบบที่นิยมใช้มักจะใช้ควบคู่กับหัวเกียร์
หลักการทำงานของหัวเกียร์
มีหน้าที่ลดรอบของมอเตอร์ให้ลดลงตามความต้องการใช้งาน มีอัตราทดในการเลือกใช้งานที่หลากหลายตั้งแต่อัตราทด 1 : 3 - 1 : 2000
ตัวอย่างกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้งาน Compact Gear ได้แก่
ระบบลำเลียง (Conveyor), เครื่องจักรงานอุตสาหกรรมอาหาร, เครื่องแพคกิ้งต่างๆ, งานป้ายโฆษณา, เครื่องโม่หรือบดอาหารขนาดเล็ก
แบรนด์ที่มีจำหน่าย
หลักการทำงานของมอเตอร์
มอเตอร์เป็นมอเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำหรือเรียกว่า Induction Motor เป็นการนำพลังงานไฟฟ้ามาเปลี่ยนเป็นพลังงานกล โดยอาศัยการสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้นภายในขดลวด Stator เพื่อผลักดันให้ตัว Rotor เคลื่อนที่
รูปแบบของมอเตอร์
จะเป็นลักษณะหน้าแปลนสี่เหลี่ยมจตุรัส ทั้งนี้การดีไซน์ของตัวมอเตอร์สามารถนำไปใช้งานได้โดยตรงกับชิ้นงาน หรือประกอบเข้ากับหัวเกียร์ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานเป็นหลัก แต่รูปแบบที่นิยมใช้มักจะใช้ควบคู่กับหัวเกียร์
หลักการทำงานของหัวเกียร์
มีหน้าที่ลดรอบของมอเตอร์ให้ลดลงตามความต้องการใช้งาน มีอัตราทดในการเลือกใช้งานที่หลากหลายตั้งแต่อัตราทด 1 : 3 - 1 : 2000
ตัวอย่างกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้งาน Compact Gear ได้แก่
ระบบลำเลียง (Conveyor), เครื่องจักรงานอุตสาหกรรมอาหาร, เครื่องแพคกิ้งต่างๆ, งานป้ายโฆษณา, เครื่องโม่หรือบดอาหารขนาดเล็ก
แบรนด์ที่มีจำหน่าย
มอเตอร์เขย่า | Vibrating Motor
รายละเอียดของสินค้า
มอเตอร์เขย่า หรือบางที่เรียก มอเตอร์สั่น เป็นมอเตอร์ที่เหมาะสำหรับการนำกำลังที่เกิดจากการสั่นสะเทือนไปใช้ประโยชน์ โดยทิศทางการสั่นสามารถสั่นได้ 360 องศา ลักษณะการสั่นเป็นวงกลม
ลักษณะการทำงาน
เมื่อป้อนไฟเข้ามอเตอร์ มอเตอร์จะทำงานโดยการหมุนของโรเตอร์จะทำให้ลูกเบี้ยวที่ติดอยู่ข้างมอเตอร์ทั้งสองข้างทำงาน ทำให้เกิดการเหวี่ยงตัว แรงเหวี่ยงนั้นทำให้เกิดการสั่นของมอเตอร์ และใช้กำลังการสั่นนั้นไปใช้งานต่อไปตามความเหมาะสมของชิ้นงาน
การปรับระยะการสั่น
การปรับระยะการสั่น สามารถปรับได้ตั้งแต่ 0 – 180 องศา ถ้าปรับองศามากขึ้น แรงเหวี่ยงก็จะมากขึ้นด้วย ลักษณะการประกอบใช้งาน
• แบบขาตั้ง ( FOOT MOUNTED )
• แบบหน้าแปลน ( FLANGE MOUNTED )
แบรนด์ที่มีจำหน่าย
รายละเอียดของสินค้า
มอเตอร์เขย่า หรือบางที่เรียก มอเตอร์สั่น เป็นมอเตอร์ที่เหมาะสำหรับการนำกำลังที่เกิดจากการสั่นสะเทือนไปใช้ประโยชน์ โดยทิศทางการสั่นสามารถสั่นได้ 360 องศา ลักษณะการสั่นเป็นวงกลม
ลักษณะการทำงาน
เมื่อป้อนไฟเข้ามอเตอร์ มอเตอร์จะทำงานโดยการหมุนของโรเตอร์จะทำให้ลูกเบี้ยวที่ติดอยู่ข้างมอเตอร์ทั้งสองข้างทำงาน ทำให้เกิดการเหวี่ยงตัว แรงเหวี่ยงนั้นทำให้เกิดการสั่นของมอเตอร์ และใช้กำลังการสั่นนั้นไปใช้งานต่อไปตามความเหมาะสมของชิ้นงาน
การปรับระยะการสั่น
การปรับระยะการสั่น สามารถปรับได้ตั้งแต่ 0 – 180 องศา ถ้าปรับองศามากขึ้น แรงเหวี่ยงก็จะมากขึ้นด้วย ลักษณะการประกอบใช้งาน
• แบบขาตั้ง ( FOOT MOUNTED )
• แบบหน้าแปลน ( FLANGE MOUNTED )
แบรนด์ที่มีจำหน่าย
มูเล่ย์ปรับรอบ | Belt Transmissions Variable Speed
รายละเอียดของสินค้า
ชุดมู่เลย์ปรับรอบ ทำหน้าที่ปรับความเร็วรอบ โดยใช้ระบบมู่เลย์ สายพานเป็นตัวปรับรอบความเร็วรอบของมอเตอร์ ให้มีความเร็วรอบเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ส่วนประกอบ
1. มู่เลย์ตัวปรับ ( ตัวขับ )
มู่เลย์ตัวปรับ (ตัวขับ) เป็นตัวที่ใช้ในการปรับรอบของตัวมอเตอร์ให้เพิ่มขึ้นหรือลดลงตามอัตราส่วน คือ คูณ 2 และ หาร 2 โดยอาศัยหลักการปรับความแข็งของสปริงให้มู่เลย์ตึงหรือหย่อนลงซึ่งจะส่งผลให้ความเร็วของมอเตอร์เพิ่มขึ้นหรือลดลง
2. มู่เลย์ตัวตาม
มู่เลย์ตัวตาม มีหน้าที่เป็นตัวรอบรับสายพานของชุดมู่เลย์ตัวขับเพื่อประกอบเข้ากับชิ้นงาน (ชิ้นงานหมายถึง โหลด เช่น เกียร์ทด , หัวเกียร์ หรือชิ้นงานอื่นๆ)
3. สายพาน (BELT)
สายพาน สายพานที่ใช้สำหรับชุดมู่เลย์ปรับรอบเป็นสายพานตีนตะขาบ ซึ่งลักษณะจะไม่เหมือนกับสายพานขับที่ใช้กับมู่เลย์ปกติทั่วๆ ไป
วิธีการเลือกใช้งานของชุดมู่เลย์ปรับรอบ
สามารถเลือกใช้งาน โดยดูจากขนาดของตัวต้นกำลัง ( มอเตอร์ ) โดยพิจารณาจากกำลังของมอเตอร์ ( แรงม้า ) เป็นเกณฑ์ในการเลือกรุ่น
ตัวอย่างกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้งาน มูเล่ย์ปรับรอบ
1. โรงงานอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
2. โรงงานอุตสาหกรรมผลิตถุงและกระสอบปุ๋ย
3. โรงงานทออวน
4. อุตสาหกรรมฟอกหนัง
แบรนด์ที่มีจำหน่าย
รายละเอียดของสินค้า
ชุดมู่เลย์ปรับรอบ ทำหน้าที่ปรับความเร็วรอบ โดยใช้ระบบมู่เลย์ สายพานเป็นตัวปรับรอบความเร็วรอบของมอเตอร์ ให้มีความเร็วรอบเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ส่วนประกอบ
1. มู่เลย์ตัวปรับ ( ตัวขับ )
มู่เลย์ตัวปรับ (ตัวขับ) เป็นตัวที่ใช้ในการปรับรอบของตัวมอเตอร์ให้เพิ่มขึ้นหรือลดลงตามอัตราส่วน คือ คูณ 2 และ หาร 2 โดยอาศัยหลักการปรับความแข็งของสปริงให้มู่เลย์ตึงหรือหย่อนลงซึ่งจะส่งผลให้ความเร็วของมอเตอร์เพิ่มขึ้นหรือลดลง
2. มู่เลย์ตัวตาม
มู่เลย์ตัวตาม มีหน้าที่เป็นตัวรอบรับสายพานของชุดมู่เลย์ตัวขับเพื่อประกอบเข้ากับชิ้นงาน (ชิ้นงานหมายถึง โหลด เช่น เกียร์ทด , หัวเกียร์ หรือชิ้นงานอื่นๆ)
3. สายพาน (BELT)
สายพาน สายพานที่ใช้สำหรับชุดมู่เลย์ปรับรอบเป็นสายพานตีนตะขาบ ซึ่งลักษณะจะไม่เหมือนกับสายพานขับที่ใช้กับมู่เลย์ปกติทั่วๆ ไป
วิธีการเลือกใช้งานของชุดมู่เลย์ปรับรอบ
สามารถเลือกใช้งาน โดยดูจากขนาดของตัวต้นกำลัง ( มอเตอร์ ) โดยพิจารณาจากกำลังของมอเตอร์ ( แรงม้า ) เป็นเกณฑ์ในการเลือกรุ่น
ตัวอย่างกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้งาน มูเล่ย์ปรับรอบ
1. โรงงานอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
2. โรงงานอุตสาหกรรมผลิตถุงและกระสอบปุ๋ย
3. โรงงานทออวน
4. อุตสาหกรรมฟอกหนัง
แบรนด์ที่มีจำหน่าย
ไม่มีเนื้อหาที่จะแสดง