MY MENU

มอเตอร์ไฟฟ้า | Electric Induction Motor

มอเตอร์ไฟฟ้า Electric Induction Motor
มอเตอร์ไฟฟ้า FKT Eco มีให้เลือก 3 รุ่น ดังนี้

1. รุ่น QY2
คุณสมบัติ
• 1/4 HP (0.18KW) - 420 HP (315KW)
• 2 POLES - 6 POLES
• FOOT MOUNTED (IM B3)
• FLANGE MOUNTED (IM B5)
• 220/380V.,380/660V. 3 PHASE.
• INSULATION CLASS F
• โครงสร้างเหล็กหล่อ (cast iron)
• IP 55

2. รุ่น AL หรือ JL
คุณสมบัติ
• 1/4 HP (0.18KW) – 5.5 HP (4KW)
• 2 POLES - 6 POLES
• FOOT MOUNTED (IM B3)
• FLANGE MOUNTED (IM B5)
• 220/380V.,380/660V. 3 PHASE.
• INSULATION CLASS F
• โครงสร้างทำมาจากอลูมิเนียม จึงมีน้ำหนักเบา
• IP 55

3. รุ่น ML
คุณสมบัติ
• 1/4 HP (0.18KW) – 5.5 HP (4KW)
• 2 POLES - 4 POLES
• FOOT MOUNTED (IM B3)
• FLANGE MOUNTED (IM B5)
• 220V. 1 PHASE.
• INSULATION CLASS F
• โครงสร้างทำมาจากอลูมิเนียม จึงมีน้ำหนักเบา
• IP 55

มอเตอร์ไฟฟ้าคืออะไร?
มอเตอร์ไฟฟ้า (Electric Motor) คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล โดย มอเตอร์ไฟฟ้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ

1. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (DC Motor)
2. มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Motor)

หลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า
หลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้า คือ การนำพลังงานไฟฟ้ามาเปลี่ยนเป็นพลังงานกลโดยการสร้างสนามแม่เหล็กขึ้นที่ขดลวดทองแดงในสเตเตอร์ (Stator) ทำให้เกิดแรงดูดและแรงผลักของสนามแม่เหล็กเพื่อเหนี่ยวนำทุ่น (Rotor) ให้เกิดการหมุน แล้วจึงนำพลังงานที่เกิดจากการหมุนนั้นไปใช้งาน โดยมอเตอร์ไฟฟ้าจะมีรอบความเร็วการหมุนที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ประมาณ 3,000 รอบต่อนาที (2P) / 1,500 รอบต่อนาที (4P) / 1,000 รอบต่อนาที (6P)

โครงสร้าง (Frame) ของมอเตอร์ไฟฟ้า  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
     1. แบบเหล็กหล่อ เป็นแบบที่นิยมใช้โดยทั่วไป คุณสมบัติเด่นคือความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน ระบายความร้อนได้ดี และทนทานต่อสารเคมีได้ดีกว่าโครงสร้างแบบอื่น
     2. แบบอลูมิเนียม นิยมใช้ในอุตสาหกรรมบางกลุ่ม ระบายความร้อนได้ดี มีน้ำหนักเบากว่าและสวยงามกว่าแบบเหล็กหล่อ แต่มีราคาสูงกว่าแบบเหล็กหล่อและไม่สามารถทนต่อสารเคมีบางประเภทได้
     3. แบบเหล็กม้วน เป็นแบบที่ไม่นิยมใช้มากนัก เนื่องจากมอเตอร์แบบเหล็กม้วนมักระบายความร้อนได้ไม่ดีนัก ตัวเสื้อไม่สวยงาม แต่มีความกะทัดรัด และมีราคาถูก

ลักษณะการประกอบใช้งาน
การประกอบมอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของมอเตอร์ ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้โดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
• มอเตอร์ไฟฟ้าแบบขาตั้ง เป็นการประกอบมอเตอร์ไฟฟ้าเข้ากับชิ้นงานผ่านยอยหรือเฟือง
• มอเตอร์ไฟฟ้าแบบหน้าแปลน เป็นการประกอบมอเตอร์ไฟฟ้าโดยสวมเข้ากับชิ้นงานโดยตรง
• มอเตอร์ไฟฟ้าแบบขาตั้งและหน้าแปลน เป็นการประกอบมอเตอร์ไฟฟ้าโดยสวมเข้ากับชิ้นงานและมีฐานรองรับน้ำหนักของมอเตอร์


การนำไปใช้งาน
     มอเตอร์ไฟฟ้าสามารถรองรับงานได้หลากหลายประเภท นิยมไปใช้เป็นต้นกำลังขับ (Driver) ในการขับเคลื่อนชิ้นงานต่างๆ ให้เกิดการเคลื่อนไหว เช่น พัดลมอุตสาหกรรม เครื่องเป่า ปั๊มน้ำ เครื่องอัดอากาศ หรือนำไปขับเฟืองเพื่อให้ลูกกลิ้งหมุน เป็นต้น
     นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ได้อีกมากมาย เช่น นำไปใช้กับอินเวอร์เตอร์ (Inverter) เพื่อควบคุมและปรับเปลี่ยนความเร็วของมอเตอร์ หรือใช้งานร่วมกับเกียร์ทดรอบเพื่อลดความเร็วการหมุนของมอเตอร์และเพิ่มแรงบิดให้ตรงกับความต้องการของชิ้นงาน เป็นต้น


มาตรฐานต่างๆ ของมอเตอร์ไฟฟ้า
 
ก่อนเลือกซื้อมอเตอร์ไฟฟ้า ควรพิจารณาจากมาตรฐานต่างๆ ที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพและระดับความประหยัดพลังงานของมอเตอร์นั้น ๆ โดยมาตรฐานของมอเตอร์ไฟฟ้าที่สำคัญมีดังนี้
IEC (International Electrotechnical Commission)
มาตรฐาน IEC เป็นมาตรฐานสากลที่ใช้อย่างแพร่หลายใน 67 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย โดยจะแบ่งค่าประสิทธิภาพออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ IE1 (Standard Efficiency), IE2 (High Efficiency), IE3 (Premium Efficiency) และ IE4 (Super Premium Efficiency) ส่วนพิกัดกำลังขาออกจะแสดงเป็นหน่วยกิโลวัตต์ (kW)

NEMA (National Electrical Manufactures Association)
เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้ในสหรัฐอเมริกา แคนาดา และเม็กซิโก มักพบในมอเตอร์ไฟฟ้าที่นำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา โดยแบ่งระดับประสิทธิภาพออกเป็น 3 ระดับ คือ EPAct, NEMA Premium และ NEMA Premium Plus ส่วนพิกัดกำลังขาออกจะแสดงเป็นหน่วยแรงม้า (hp)
IP (Ingress Protection)
มาตรฐาน IP คือ มาตรฐานในการป้องกันฝุ่นและน้ำของมอเตอร์ซึ่งจะแสดงด้วยตัวเลข 2 หลัก โดยรูปแบบการแสดงมาตรฐานจะเป็น IPXX เช่น IP65, IP67, IP68 เป็นต้น โดยตัวเลขหลักที่ 1 หมายถึงการป้องกันจากของแข็ง ซึ่งจะมีตั้งแต่ 0-6 และตัวเลขหลักที่ 2 หมายถึงการป้องกันจากของเหลว ซึ่งจะมีตั้งแต่ 0-8
โดย IP ที่เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ใช้งานกันจะอยู่ที่ IP54, IP55

Insulation Class Type
Insulation Class Type คือ ระดับฉนวนของมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ Class A, Class E, Class B, Class F และ Class H โดยค่าแต่ละระดับจะบ่งบอกถึงคุณสมบัติ วัสดุ และประสิทธิภาพของฉนวนกันความร้อนของมอเตอร์ไฟฟ้านั้น ๆ ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายจะเป็น Class F

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายได้ที่ Click Here