สาระน่ารู้
สาระน่ารู้
- หัวข้อ
- เกร็ดความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมอเตอร์ไฟฟ้า กระแสสลับ 3 เฟส
มอเตอร์ไฟฟ้า กระแสสลับ 3 เฟส เป็นมอเตอร์ที่ได้รับความนิยมมากในหมู่โรงงานอุตสาหกรรม ใช้กับระบบไฟฟ้ากระแสสลับ การใช้งานพื้นฐานคือเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้กลายเป็นพลังงานกล ส่วนที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าคือขดลวดในสเตเตอร์ เมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้าก็จะสร้างสนามแม่เหล็กขึ้น และจะไปทำให้เกิดการเหนี่ยวนำของกระแสไฟฟ้าขึ้นในขดลวดของโรเตอร์ หรือ เรียกว่าตัวหมุน ซึ่งคือส่วนที่ทำหน้าที่ให้พลังงานกลนั่นเอง จึงทำให้มีการเรียกมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับว่ามอเตอร์เหนี่ยวนำ | (รูปจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Induction_motor) |
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. มอเตอร์ไฟฟ้า กระแสสลับ แบบอินดักชั่น หรือ เหนี่ยวนำ– จะมีความเร็วพร้อมรอบคงที่ เนื่องจากขึ้นอยู่กับความถี่ของแหล่งกำเนิดไฟฟ้า โครงสร้างไม่ค่อยซับซ้อน ราคาไม่แพง บำรุงรักษาง่ายเพราะไม่มีคอมมิวเตเตอร์กับแปรงถ่านเหมือนมอเตอร์กระแสตรง เมื่อใช้ร่วมกับเครื่องควบคุมความเร็วอินเวอร์เตอร์ก็จะสามารถคุมความเร็วได้ตั้งแต่ 0 ถึง ความเร็วสูงสุดของมอเตอร์
ภายในประกอบไปด้วยโรเตอร์, ขดลวดสนามแม่เหล็ก, โครงมอเตอร์, ขั้วต่อสาย, ฝาครอบหัว, ฝาครอบท้าย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ อินดิกชั่นมอเตอร์แบบทรงกระรอกกับอินดิกชั่นมอเตอร์แบบขดลวด การใช้งานขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเครื่องจักร
2. มอเตอร์ไฟฟ้า กระแสสลับ แบบซิงโครนัส – จะเป็นมอเตอร์ขนาดใหญ่ขนาดกำลังไฟฟ้าตั้งแต่ 150 KW ไปจนถึง 15 MW ระดับความเร็วตั้งแต่ 150 – 1,800 RPM มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วนคือ
- สเตเตอร์ (Stator) จะเป็นเหมือนกับแบบอินดักชั่น มีร่องพันขดลวด 3 ชุด เฟสละ 1 ชุด พอจ่ายกระแสสลับ 3 เฟสให้สเตเตอร์จะเกิดสนามแม่เหล็กหมุนขึ้นมา
- โรเตอร์ (Rotor) ลักษณะเป็นขั้วแม่เหล็กยื่น ขดลวดพันด้านข้างขั้วแม่เหล็กที่ยื่นออกมาโดยจะพันยื่นต่อกับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงภายนอกไม่ก็สร้างขั้วแม่เหล็กตรงโรเจอร์ เมื่อมีการจ่ายไฟมายังสเตเตอร์จะเกิดเป็นสนามแม่เหล็กหมุนความเร็วเท่ากับความเร็วของสนามแม่เหล็กตรงสเตเตอร์นั่นเอง
คัดลอก URL
เลือก URL ทั้งหมดด้านล่างเพื่อคัดลอก
แก้ไขข้อคิดเห็น
ป้อนรหัสผ่านของคุณเพื่อแก้ไขโพสต์
ลบความคิดเห็นลบโพสต์
ป้อนรหัสผ่านเพื่อลบโพสต์